การให้บริการวิเคราะห์และทดสอบวัสดุ/ผลิตภัณฑ์/ชิ้นส่วนโลหะ ตาม มอก. และ มาตรฐานสากล โดยครอบคลุมการทดสอบดังนี้
การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีด้วยเทคนิค Optical Emission Spectrometer (OES)
    การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของวัสดุโลหะหรือโลหะผสมต่าง ๆ โดยใช้เทคนิค Optical Emission Spectrometer (OES) ด้วยเครื่อง Spectrolab M10 วิธีการทดสอบนี้เป็นการวัดพลังงานของแสงที่ปล่อยออกมาหลังจากถูกกระตุ้นด้วยประจุไฟฟ้าจากการสปาร์ก หรืออาร์กซึ่งวัสดุหรือชิ้นส่วนที่นำมาทดสอบควรมีสภาพนำไฟฟ้าได้

การทดสอบแรงบิดของวัสดุ
    การทดสอบแรงบิดของวัสดุ เป็นการทดสอบแรงบิดที่ทำให้วัสดุแตกหักเพื่อพิสูจน์ว่าวัสดุสามารถรับแรงบิดได้ตามระยะเวลาที่กำหนดหรือไม่ การทดสอบการปฏิบัติงานจะทดสอบผลิตภัณฑ์เฉพาะเพื่อยืนยันขีดจำกัด การยืดหยุ่นของชิ้นส่วนวัสดุก่อนออกสู่ตลาด

การเตรียมผิวชิ้นงานวิเคราะห์/ทดสอบทางโลหะวิทยา
    เป็นการเตรียมผิวชิ้นงานสำหรับวิเคราะห์/ทดสอบทางโลหะวิทยา ตามมาตรฐาน ASM Handbook volume 9 ซึ่งได้รับการรับรอง ISO17025

การวิเคราะห์ภาพถ่าย
    เป็นการวิเคราะห์โครงสร้างมหภาคและจุลภาคของวัสดุจากชิ้นงาน เช่น วัดขนาดเกรน ระบุชนิดเฟสโครงสร้าง ระบุชนิดกราไฟต์ของโลหะ ระบุโครงสร้างของโลหะ (เหล็กกล้า อะลูมิเนียม ทองเหลือง ทองแดง)

การทดสอบความแข็งแบบวิกเกอร์ส
    การทดสอบความแข็งแบบวิกเกอร์สเป็นวิธีการทดสอบค่าความแข็งของวัสดุ ข้อดีของวิธีการนี้คือรอยกดจะมีขนาดเล็ก ทำลายเนื้อวัสดุน้อย

การวัดความหนาผิวเคลือบและชั้นดีคาร์บูไรซ์โดยใช้ Image Analyzer
    เป็นการวัดความหนาผิวเคลือบและชั้นดีคาร์บูไรซ์ เพื่อระบุระยะชั้นดีคาร์บูไรซ์โดยใช้ Image Analyzer

การวัดขนาดของเกรน
    เป็นการวัดขนาดเกรนของโครงสร้างโลหะมีผลต่อสมบัติทางกลของโลหะและช่วยทำนายความแข็งแรงของโลหะได้

การวัด ปริมาณเฟอร์ไรท์ โดยใช้ Plate/ Image Analyzer
    เป็นการวัดปริมาณเฟอร์ไรท์ จากภาพถ่ายโดยใช้การวิเคราะห์ด้วย Plate/ Image Analyzer ตามมาตรฐาน ASTM E562 เพื่อวัดเป็นเปอร์เซ็นต์เฟอร์ไรท์ในเนื้อโลหะหรือรอยเชื่อมสแตนเลส

การวัดความลึกของผิวชุบแข็ง
    ในกระบวนการอบชุบ ค่าความแข็งของเหล็กที่ผ่านการชุบแข็งผิวแล้วจะมีค่าความแข็งสูงสุดที่บริเวณผิวและค่าความแข็งจะลดลงตามความลึกเข้าไปในชิ้นงาน ดังนั้นการตรวจวัดค่าความแข็งผิว (surface hardness or case hardness) และค่าความลึกผิวแข็ง (case depth)จึงเป็นการตรวจสอบคุณภาพงานชุบแข็งผิวก่อนนำไปใช้งาน

การทดสอบ Dezincification
    การทดสอบ Dezincification เป็นวิธีการทดสอบความต้านทานต่อ dezincification ของชิ้นส่วนสุขภัณฑ์เพื่อการส่งออก จำหน่าย ของภาคเอกชน

การวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาคโดยเทคนิคการลอกลาย
    เทคนิคการลอกลาย (Replica Technique) เป็นวิธีการตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคผิวหน้าของโลหะด้วยการลอกลายโครงสร้างของเนื้อโลหะลงบนอะลูมิเนียมฟอยล์ โดยไม่จำเป็นต้องตัดหรือทำลายชิ้นงาน

การวิเคราะห์ผิวแตก และองค์ประกอบทางเคมีของสารปนเปื้อนโดย EDX (Jeol 5410LV)/SEM (ISIS 200)
    เทคนิค EDX ใช้สำหรับการวิเคราะห์ส่วนผสมทางเคมีบนรอยบกพร่องที่มีขนาดเล็ก คราบสกปรก รอยต่าง ๆ บนพื้นผิววัสดุ

การวิเคราะห์ผิวแตกและองค์ประกอบทางเคมีสารของปนเปื้อนโดย EDX (Bruker)/SEM (Prisma E)
    เป็นวิธีการถ่ายภาพพื้นผิวชิ้นงานที่กำลังขยายสูง สามรถถ่ายภาพที่มีขนาดเล็กในระดับไมครอนเพื่อบ่งบอกถึงขนาด รูปร่าง ลักษณะพื้นผิวและการกระจายตัวของอนุภาคภายในชิ้นงาน อีกทั้งเทคนิค EDX ใช้สำหรับการวิเคราะห์ส่วนผสมทางเคมีบนพื้นผิวรอยแตกบนชิ้นงานได้อีกด้วย

การวิเคราะห์ไฮโดรเจนในโลหะ
    เป็นการวิเคราะห์ปริมาณไฮโดรเจนในโลหะเพื่อเป็นแนวทางป้องกันและลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการแตกร้าวเนื่องจากปริมาณไฮโดรเจนที่มากเกินไปในเนื้อวัสดุ

การทดสอบเร่งสภาวะการกัดกร่อนโดย Salt spray test, CASS test และ Combined Cycle Corrosion test
    Salt spray test คือการทดสอบการกัดกร่อนของวัสดุด้วยละอองน้ำเกลือ ตาม มาตรฐาน ASTM B117, ASTM B368, JIS Z 2371, ISO9227 และตาม มอก กลุ่มงานที่มีความจำเป็นต้องทดสอบได้แก่ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมสี อุตสาหกรรมบรรจุกระป่อง อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมสุขภัณฑ์ อุตสาหกรรมเครื่องครัวสเตนเลส อุตสาหกรรมเหล็กและโลหะ และอื่นๆ

การทดสอบหาอัตราการกัดกร่อนจาก Polarization curve ด้วยเทคนิคทางเคมีไฟฟ้า (Electrochemical Test)
    Electrochemical Test เป็นการทดสอบสมบัติของโลหะโดยวิธีเคมีไฟฟ้า (Electrochemical test) เพื่อหาอัตราการกัดกร่อนโดย polarization curve ตามมาตรฐาน ASTM G 3 : Standard Practice for Conventions Applicable to Electrochemical Measurements in Corrosion Testing เป็นวิธีจำลองการเกิดกระบวนการการกัดกร่อนของโลหะที่ช่วยประเมินอัตราการกัดกร่อนได้ดีและเร็ว โดยปกติแล้วการเกิดการกัดกร่อนเป็นปฏิกิริยาทางกายภาพของโลหะกับสภาพแวดล้อมซึ่งเกิดจากการถ่ายเทประจุไฟฟ้าหรือแลกเปลี่ยนอิเล็กตรอนในสารละลายของน้ำ เรียกว่าปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้า (Electrochemical reaction) การเกิดปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้าของการกัดกร่อนเป็นปฏิกิริยาออกซิเดชันและรีดักชัน เมื่อน้ำหรือสารละลายที่สัมผัสกับโลหะ หลักการของการทดสอบการกัดกร่อนโลหะโดยใช้เทคนิคทางเคมีไฟฟ้าคือการป้อนศักย์ไฟฟ้าเร่งการกัดกร่อน โดยใช้เครื่อง Potentiostat/Galvanostat ในสภาวะที่มีสารละลายอิเล็กโทรไลต์ทำหน้าที่เป็นทางเดินของอิออน และเป็นการเชื่อมต่อเซลเคมีไฟฟ้า (Electrochemical Cell) ทำให้เราสามารถคำนวณหาอัตราการกัดกร่อนได้

การวิเคราะห์หามวลของสังกะสีเคลือบ, หา Weight loss และหาอัตราการกัดกร่อน โดยล้างด้วยสารเคมี
    การวิเคราะห์หามวลของสังกะสีเคลือบโดยล้างด้วยสารเคมี เป็นวิธีตรวจสอบอัตราการสูญเสีย ความหนา ของโลหะเคลือบ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการผลิตอุปกรณ์ในภาคอุตสาหกรรม

การทดสอบแบบเร่งสภาวะการกัดกร่อนด้วยวิธีจุ่มแช่
    การทดสอบแบบเร่งสภาวะด้วยวิธีจุ่มแช่ เป็นวิธีทดสอบหาอัตราการกัดกร่อนในของเหลวจากสิ่งแวดล้อมจริง หรือ ตามมาตรฐานการทดสอบ เพื่อประเมินอิทธิพลของสารละลายที่มีผลต่อโลหะนั้น ๆ

การทดสอบการสั่นสะเทือน
    การทดสอบการสั่นสะเทือน เป็นการทดสอบการวัดและประเมินพฤติกรรมการสั่นของวัตถุเพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถควบคุมการสั่นของวัตถุได้

การถ่ายภาพด้วยรังสี
    การถ่ายภาพด้วยรังสี ใช้สำหรับการตรวจสอบหารอยบกพร่องและความไม่สมบูรณ์ภายในเนื้อวัสดุ ชิ้นส่วนอุตสาหกรรม แนวเชื่อม ท่อ ถังแก๊ส ผลิตภัณฑ์ ประเภทงานหล่อโลหะต่างๆ และชิ้นส่วนที่มีขนาดเล็ก หรือมีความซับซ้อนโดยไม่ทำให้ชิ้นงานชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ หรือวัสดุที่นำมาทดสอบเกิดความเสียหาย

การตรวจสอบด้วยคลื่นความถี่สูง
    Radiographic test is used for inspection of defects and imperfections within the materials, industrial parts, weldments, pipes, gas tanks, various metal casting products, and small

การวัดความหนาด้วยคลื่นความถี่สูง
    การวัดความหนาด้วยคลื่นความถี่สูงเป็นการวัดความหนาของวัตถุและชั้นออกไซด์โดยไม่ทำลายหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่วัตถุ ซึ่งสามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องเข้าถึงทั้งสองด้านของชิ้นงาน ใช้เพื่อทดสอบหาความหนาของชั้นออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากการใช้งานที่อุณหภูมิสูงของท่อหรือถังความดัน

การทดสอบความแข็งเชิงเปรียบเทียบ
    การทดสอบความแข็งเชิงเปรียบเทียบ ใช้สำหรับวัดความแข็งของวัสดุ สามารถทดสอบในภาคสนามได้

การทดสอบด้วยน้ำยาแทรกซึม
    การทดสอบด้วยสารแทรกซึมเป็นวิธีสำหรับตรวจหาความไม่ต่อเนื่องที่เปิดออกสู่พื้นผิวของโลหะและวัสดุอื่น ๆ ที่ไม่มีรูพรุน เช่น พลาสติก แก้ว และเซรามิก ความไม่ต่อเนื่องที่ใช้วิธีนี้ตรวจหา ได้แก่ รอยแตก ตะเข็บ รอยเกย ผิวลาย การแยกชั้น และรูพรุน

การทดสอบด้วยวิธีผงแม่เหล็ก
    การทดสอบด้วยวิธีผงแม่เหล็กเป็นการตรวจวัดหารอยบกพร่องที่อยู่บนผิวและใต้ผิวของวัสดุด้วยเส้นแรงแม่เหล็ก นิยมใช้ตรวจหารอยบกพร่อง หรือรอยแตกร้าวสำหรับวัสดุกลุ่มเหล็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งรอยบกพร่องที่อยู่ภายใต้ผิวของชิ้นงาน

การวัดความเค้นโดยใช้สเตรนเกจ
    การวัดความเค้นด้วยสเตรนเกจโดยใช้อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (Quantum X) เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับวัดและบันทึกข้อมูลที่ได้จากการวัด เป็นวิธีการทดสอบแบบกึ่งทำลาย

การวัดความเค้นตกค้าง โดยเทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์
    การวัดความเค้นตกค้าง โดยเทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์เป็นวิธีการทดสอบแบบไม่ทำลายเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของระยะห่างระหว่างอะตอมของวัสดุโลหะเมื่อมีการกระทบของรังสีเอ็กซ์ วิธีการวัดนี้เป็นการวัดความเค้นตกค้างที่พื้นผิววัสดุจนถึงความลึกจากผิวไม่เกิน 30 ไมโครเมตร ซึ่งสามารถวัดความเค้นตกค้างได้ทั้งในห้องปฏิบัติการและสามารถออกไปวัดหน้างานได้

การวัดการขจัดด้วยหัววัดทรานสดิวเซอร์
    การวัดระยะขจัดด้วยหัววัดร่วมกับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (Quantum X) สามารถประยุกต์ใช้กับการวัดระดับหรือปริมาณของที่อยู่ภายในถังหรือไซโลโดยวัดได้ทั้งของเหลวและของแข็ง เหมาะสำหรับการตรวจจับการเคลื่อนไหวแบบไม่สัมผัส มีความไวและเสถียรภาพในการใช้งานสูง และมีค่าความเป็นเชิงเส้นที่ดี

การวัดความเร่งด้วยหัววัดความเร่ง
    การวัดความเร่งโดยใช้หัววัดความเร่งร่วมกับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (Quantum X) เป็นการวัดความเร็วที่เปลี่ยนไปตามเวลา

การตรวจสภาพภายในด้วย Video Scope System
    การตรวจสภาพภายในด้วย Video Scope System เพื่อใช้ในงานตรวจพินิจ (Visual Inspection) ในบริเวณที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ ในงานตรวจสอบหม้อน้ำ ภาชนะรับแรงดัน (Boiler and Pressure Vessel Inspection) และอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งสามารถเคลื่อนย้ายไปปฏิบัติงานในที่ต่างๆได้อย่างสะดวก เป็นกล้องสำหรับตรวจสอบภายในท่อหรือเครื่องจักรที่คนไม่สามารถเข้าไปได้ และวัดขนาด ความลึกของหลุมที่เกิดจากการกัดกร่อน

การทดสอบการกัดกร่อน
    การทดสอบการกัดกร่อนของวัสดุแบบต่างๆ เช่น การกัดกร่อนแบบรูเข็มตามมาตรฐาน G48 Method A และ C การกัดกร่อนระหว่างเกรนตามมาตรฐาน A923 Method C และการกัดกร่อนแบบ Scale Deposition ตามมาตรฐาน ASTM D3483 Method B

การวัดความหยาบผิว
    การวัดความหยาบผิว (Roughness) ใช้ในการวัด / วิเคราะห์ความเรียบหรือความหยาบของพื้นผิวชิ้นงาน (Surface roughness) หรือใช้ในการวิเคราะห์หา Volume loss ที่เกิดจากการสูญเสีย / สึกหรอ ของชิ้นงานจากการทดสอบ wear test หรือใช้ในการตรวจสอบการเกิดการกัดกร่อนหลังผ่านการทดสอบด้วยละอองน้ำเกลือ (Salt spray test) ซึ่งไม่สามารถตรวจวิเคราะห์ได้ด้วยสายตา

การทดสอบลิ้นนิรภัยและการทดสอบลิ้นนิรภัยแบบออนไลน์ (Hot test)
    การทดสอบลิ้นนิรภัยและการทดสอบนิรภัยแบบออนไลน์ (Hot test) เป็นการทดสอบลิ้นนิรภัยแบบตั้งโต๊ะที่ความดันไม่เกิน 150 บาร์เกจ

การตรวจวัดอุณหภูมิด้วยกล้องอินฟราเรด
    การตรวจวัดอุณหภูมิด้วยกล้องอินฟราเรด เป็นกล้องที่สามารถถ่ายรูปและวัดอุณหภูมิของสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิต อุปกรณ์หรือเครื่องมือต่างๆเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และตรวจสอบ โดยกล้องมีความสามารถในการวัดค่าอุณหภูมิ ณ จุดต่างได้แม่นยำโดยใช้วิธีตรวจจับคลื่นอินฟราเรดที่แผ่ออกมาจากสิ่งนั้นๆแล้วแสดงภาพด้วยการจำแนกอุณหภูมิต่างๆด้วยสี

การตรวจท่อด้วย IRIS Technique
    การตรวจท่อด้วย IRIS Technique เป็นเทคนิคที่ใช้ทดสอบได้ทั้งวัสดุที่เป็นเหล็กและไม่ใช่เหล็กและรวมถึงวัสดุที่ไม่นำไฟฟ้า เช่น พลาสติก IRIS สามารถวัดความหนาของผนังท่อที่เหลืออยู่ได้อย่างแม่นยำ มีข้อดีคือแสดงข้อมูลรูปร่างของจุดบกพร่องได้ด้วย สามารถวัดจุดบกพร่องเฉพาะจุดและการสูญเสียผนังท่อทั้งสองข้างได้อย่างแม่นยำ และวัดความบกพร่องภายใต้โครงสร้างค้ำยันได้โดยปราศจากข้อจำกัด

การทดสอบแรงดันด้วยน้ำ
    การทดสอบแรงดันด้วยน้ำป็นการทดสอบความแข็งแรงของโครงสร้างรับความดันด้วยการอัดน้ำ ได้สูงสุด 1000 บาร์โดยตัวเครื่องสามารถเคลื่อนย้ายไปปฏิบัติงานในที่ต่าง ๆได้อย่างสะดวก

การตรวจสอบหม้อไอน้ำ และภาชนะความดัน
    การตรวจสอบหม้อไอน้ำ และภาชนะความดัน เป็นการตรวจทดสอบความปลอดภัยภายหลังการติดตั้งและตรวจทดสอบความปลอดภัยประจำปีของหม้อน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย โดยถูกต้องตามหลักวิศวกรรม และเป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุในภาคผนวก 3 ให้กับผู้ประกอบกิจการโรงงาน

การทดสอบไตรโบโลยีและการทดสอบการสึกหรอของวัสดุ
    การทดสอบการสึกหรอของวัสดุ (Wear test) สามารถทดสอบการสึกหรอ ได้ที่อุณหภูมิห้อง และทดสอบที่ อุณหภูมิสูงได้ไม่เกิน 800 องศาเซลเซียส ตามมาตรฐาน ASTM G133 : Linear Reciprocating Ball-on-Flat Sliding Wear และ ASTM G99 : Wear Testing with a Pin-on-Disk Apparatus หรือตามเงื่อนไขของลูกค้าและตามคู่มือการใช้เครื่อง

การทดสอบการรับภาระกรรมแบบสถิต (Static Load)
    การทดสอบการรับภาระกรรมแบบสถิต (Static Load) ให้กับวัสดุในส่วนต่าง ๆ ให้กับภาคอุตสาหกรรม

การทดสอบความล้าของวัสดุ โดย Fatique Tester, รุ่น E10000, INSTRON โหลดไม่เกิน 8,000 Nสำหรับไม่เกิน 20 Hz
    การทดสอบความล้าของวัสดุ โดย Fatique Tester, รุ่น E10000, INSTRON โหลดไม่เกิน 8,000 N สำหรับไม่เกิน 20 Hz ตัวเครื่องสามารถทำการทดสอบได้ 4 การทดสอบด้วยกันคือ 1. การทดสอบความล้า 2. การทดสอบแรงดัดโค้ง 3 จุดและ 4 จุด 3. การทดสอบแรงดึง และ 4. การทดสอบแรงกด

การทดสอบความล้าของวัสดุ โดย Fatique Tester, รุ่น 8802, INSTRON โหลดไม่เกิน 80,000 Nสำหรับไม่เกิน 20 Hz
    การทดสอบความล้าของวัสดุ โดย Fatique Tester, รุ่น 8802, INSTRON โหลดไม่เกิน 80,000 Nสำหรับไม่เกิน 20 Hz ตัวเครื่องสามารถทำการทดสอบได้ 4 การทดสอบด้วยกันคือ 1. การทดสอบความล้า 2. การทดสอบแรงดัดโค้ง 3 จุดและ 4 จุด 3. การทดสอบแรงดึง และ 4. การทดสอบแรงกด