ด้วยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้ทำงานวิจัยสนับสนุน ผู้ประกอบการไม้ดอกไม้ประดับในพื้นที่จังหวัดเลยมาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2561 - 2562 ในโครงการพัฒนา เกษตรกรด้วยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม (InnoAgri) และกิจกรรมพัฒนาคลัสเตอร์ไม้ดอกไม้ ประดับ ภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ปี 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครือข่ายผู้ประกอบการ ให้เป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ที่มีศักยภาพในการแข่งขัน โดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาพัฒนา กระบวนการผลิต การแปรรูป และระบบการบริหารจัดการไม้ดอกไม้ประดับในพื้นที่จังหวัดเลยให้เป็นแหล่ง เรียนรู้ รวมทั้งกระบวนการผลิตไม้ดอกไม้ประดับและต้นคริสต์มาสที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ประกอบกับพื้นที่ ของจังหวัดเลยมีศักยภาพที่เหมาะสมต่อการผลิตไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ อำเภอภูเรือและอำเภอด่านซ้าย เพราะมีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล เฉลี่ย 600-900 เมตร โดยมี อุณหภูมิต่ำความชื้นสูงซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโตของไม้ดอกไม้ประดับ สำหรับเกษตรกรที่ปลูก เลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับเป็นกิจกรรมทางเลือกอาชีพหลักตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 จนถึงปัจจุบัน สามารถลดปัญหา การว่างงานในพื้นที่ให้มีงานทำตลอดปีและสร้างรายได้จำนวนมากกว่า 50,000-300,000 บาทต่อ ครัวเรือน/ปี และคิดเป็นรายได้รวมหลายร้อยล้านบาทต่อปี
งานวิจัยที่กล่าวมาข้างต้น เมื่อจบโครงการทำให้เห็นถึงปัญหาและช่องว่างในเรื่องที่ควรพัฒนาใน ธุรกิจไม้ดอกไม้ประดับว่าควรมีงานวิจัยและพัฒนาในเรื่องของการส่งเสริมการใช้วัสดุปลูกที่มีคุณภาพและมี สารอาหารที่เหมาะสมต่อพืช ระบบการปลูกเลี้ยงสมัยใหม่ที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน การพัฒนาสายพันธุ์ คัดเลือกให้ได้พันธุ์ที่แข็งแรงปลอดโรค รวมทั้งการสร้างกลุ่มเครือข่ายผู้ปลูกเลี้ยงและใช้ประโยชน์จากไม้ ดอกไม้ประดับ หรือตั้งแต่เริ่มกระบวนการปลูกเลี้ยงไปจนถึงการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์และสามารถจัด จำหน่ายได้ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากการปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับเชื่อมโยงกับการ 6 พัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ทั้งในพื้นที่จังหวัดเลย และจังหวัดลำปาง ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง และธรรมชาติสวยงาม ทั้งนี้เพื่อสร้างรายได้เสริมให้กับผู้ประกอบการปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับต่อไป แนวทางมาลัยวิทยสถาน อว. เป็นแนวคิดของ ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.อว. ในการ นำนวัตกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการพัฒนาองค์ความรู้ที่ยั่งยืน รวมทั้งกระบวนการผลิตไม้ดอกไม้ ประดับที่หลากหลาย สู่การพัฒนาตลอดห่วงโซ่การผลิต อาทิเช่น การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ การคัดเลือก ต้นพันธุ์ที่แข็งแรงปลอดโรค การส่งเสริมการใช้วัสดุปลูกที่มีคุณภาพและมีสารอาหารที่เหมาะสมต่อพืช ระบบ การปลูกเลี้ยงสมัยใหม่ที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน ระบบการปลูกเลี้ยงตามหลักความพอดีไม่เหลือทิ้ง กระบวนการหลังการเก็บเกี่ยว และสายพันธุ์ที่ตรงตามความต้องการของตลาด รวมทั้งการสร้างกลุ่มเครือข่าย ผู้ปลูกเลี้ยงให้เข้มแข็ง รวมถึงการเพิ่มมูลค่าเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมสุขภาพ และความงาม ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดการท่องเที่ยวในจังหวัด โดยมีพื้นที่นำร่องในจังหวัดเลย และจังหวัด ลำปาง เพื่อเป็นพื้นที่ต้นแบบในการพัฒนาการปลูกเลี้ยงและการผลิตไม้ดอกไม้ประดับสู่การเรียนรู้เชื่อมโยงไป ยังพื้นที่จังหวัดอื่น ๆ ต่อไป
การพัฒนาองค์ความรู้ที่ยั่งยืน รวมทั้งกระบวนการผลิตไม้ดอกไม้ประดับที่หลากหลาย สู่การพัฒนา ตลอดห่วงโซ่การผลิต อาทิเช่น การส่งเสริมการใช้วัสดุปลูกที่มีคุณภาพและมีสารอาหารที่เหมาะสมต่อพืช ระบบการปลูกเลี้ยงสมัยใหม่ที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน การพัฒนาสายพันธุ์การคัดเลือกต้นพันธุ์ที่แข็งแรง ปลอดโรค และสายพันธุ์ที่ตรงตามความต้องการของตลาด รวมทั้งการสร้างกลุ่มเครือข่ายผู้ปลูกเลี้ยงให้ เข้มแข็ง งานวิจัยนี้จะมีประโยชน์อย่างยิ่งในด้านการพัฒนาสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการปลูกเลี้ยงไม้ ดอกไม้ประดับ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรมด้านการผลิตไม้ดอกไม้ประดับเชิงพาณิชย์ และเพิ่ม ศักยภาพในการแข่งขันของผู้ผลิตให้มีศักยภาพมากขึ้น ช่วยเสริมสร้างรายได้ให้กับชุมชนและเศรษฐกิจฐาน รากในช่วงวิกฤตระบาดของโควิด-19 และการยกระดับสู่อาชีพที่ยั่งยืนหลังสถานการณ์คลี่คลายด้วยเกษตร สมัยใหม่ ไม้ดอกไม้ประดับและบูรณาการของแนวทางมาลัยวิทยสถาน อว. อย่างไรก็ตามการพัฒนาระบบ การปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับยังช่วยปรับปรุงสภาพแวดล้อมในพื้นที่ให้เป็นเมืองน่าอยู่ เหมาะสำหรับการ ท่องเที่ยวเป็นประโยชน์กับเกษตรกรผู้ปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับและคนในชุมชนใกล้เคียง อีกทั้งเป็นต้นแบบ ให้จังหวัดอื่น ๆ และก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างกลุ่มเกษตรกร นักวิจัยในมหาวิทยาลัย นักวิจัยใน หน่วยงานภาครัฐ และผู้ประกอบการเอกชนที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับของต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ได้ อย่างแท้จริง ส่งผลต่อการเพิ่มรายได้ของเกษตรกรและมูลค่าการส่งออกไม้ดอกไม้ประดับของประเทศไทยใน อนาคตอย่างยั่งยืน