วันที่ 30 ธันวาคม 2565 ศ.(วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. พร้อมด้วย รศ.ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์ ที่ปรึกษาโครงการ ดร.อนันต์ พิริยะภัทรกิจ นักวิจัยอาวุโสและหัวหน้าโครงการ ดร.ณัฐพงค์ จันจุฬา นักวิจัย และบุคลากรจากศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ เข้าร่วมพิธีเปิดงาน เทศกาลศิลปะ สายหมอกและดอกไม้ กลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 และเทศกาลไม้ดอกเมืองหนาว ครั้งที่ 30 อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ประจำปี 2565 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 ธันวาคม 2565 ถึง วันที่ 3 มกราคม 2566 ณ ที่ว่าการอำเภอ ภูเรือ จังหวัดเลย สำหรับภายในงานจะมีกิจกรรมรื่นเริงต่าง ๆ การแสดงพื้นบ้าน นอกจากนี้ยังมีขบวนแห่รถบุปผชาติ จากหน่วยงานราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอภูเรือ และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็นต้น ทั้งนี้ นายทวี เสริมภักดีกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เป็นประธานในพิธีเปิดงานดังกล่าว และได้รับเกียรติท่านและคณะเข้าเยี่ยมชมนิทรรศการและพบปะกับผู้ประกอบการไม้ดอกไม้ประดับในโครงการ ซึ่งภายในบูธของ วว. ได้จัดแสดงผลงานที่ได้จากโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อกลุ่มไม้ดอกไม้ประดับและเครือข่ายนานาชาติ ตามแนวทางมาลัยวิทยสถาน อาทิ วัสดุปลูก ปลอดโรค วัสดุปลูกจากวัสดุเหลือใช้ ต้นกล้าปลอดโรคจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ กระถางและผลิตภัณฑ์สำหรับปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับ ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากไม้ดอกไม้ประดับ กล่องสำหรับไม้ตัดดอกเพื่อการขนส่ง รวมทั้งคู่มือมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตร (GAP) และ หนังสือมาลัยวิทยสถานที่รวบรวมเกี่ยวกับพรรณไม้ดอกไม้ประดับ ไว้มากกว่า 200 ชนิด นอกจากนี้ยังมีการจำหน่ายต้นไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ และผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้แก่ ต้นคริสต์มาส จากกลุ่มแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับตำบลสานตม ไม้ตัดดอก ไม้กระถาง เช่น กุหลาบตัดดอก จากกลุ่มกุหลาบตัดดอกบ้านลายเหนือ ตำบลน้ำสวย อำเภอเมืองเลย บอนสี จากกลุ่มผู้ประกอบการอำเภอด่านซ้ายและอำเภอภูเรือ ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือย้อมสีจากดอกไม้ จากกลุ่มผู้ประกอบการอำเภอภูหลวง จังหวัดเลย และเบญจมาศตัดดอกจากผู้ประกอบการจังหวัดลำปางมาร่วมจัดแสดงและจำหน่ายภายในงาน เป็นการประชาสัมพันธ์สนับสนุน ส่งเสริมการตลาด การขายสินค้าในกลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ ได้พบปะลูกค้าใหม่ ๆ นำไปสู่การสร้างยอดขายและสร้างช่องทางการค้าให้กับผู้เกี่ยวข้องในธุรกิจไม้ดอกไม้ประดับ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจสังคมและชุมชนได้อย่างแท้จริง
วันที่ 29 ธันวาคม 2565 ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว.นายอนันต์ พิริยะภัทรกิจ นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ (หัวหน้าโครงการ) นายวีระ ชาติจันทึก ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบดิจิทัล และทีม ลงพื้นที่จังหวัดเลย เพื่อติดตามการดำเนินโครงการวิจัยด้านไม้ดอก ไม้ประดับ ณ กลุ่มชุมชน บานาน่าแลนด์ดินแดนกล้วย ๆ ในตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย ซึ่งผลการดำเนินงานประสบผลสำเร็จ ตอบโจทย์วัตถุประสงค์อีกทั้งสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่ทีมนักวิจัย วว. ลงไปพัฒนา ได้แก่ ไอศครีมจากดอกคุณนายตื่นสาย ผ้าตุ่ยทอมือ ย้อมสีจากดอกไม้ เป็นการแปรรูปไม้ดอกไม้ประดับและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ ทำเป็นของที่ระลึก ของฝากให้แก่นักท่องเที่ยว และยังช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุในชุมชนมีงานทำ และมีรายได้เพิ่มขึ้น และเนื่องในโอกาสส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2566 ผู้ว่าการ วว. ได้ส่งมอบของขวัญ วันปีใหม่ให้กับเด็กนักเรียน โรงเรียนในชุมชนของผู้ประกอบการภายใต้โครงการวิจัย ณ โรงเรียนบ้านหนองบัว อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย
วันที่ 16 ธันวาคม 2565 ดร.รุจิรา ดีวัฒนวงศ์ นักวิจัยอาวุโส เป็นตัวแทนในนามสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) พร้อมด้วย รศ.ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์ ที่ปรึกษาโครงการ และบุคลากรจาก ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ เข้าร่วมพิธีเปิดงาน ฤดูหนาวและของดีนครลำปาง ที่จัดขึ้นระหว่าง วันที่ 16 – 25 ธันวาคม ณ สนามกีฬากลางจังหวัดลำปาง (มหาวิทยาลัย การกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตลำปาง) สำหรับภายในงานจะมีกิจกรรมรื่นเริงต่าง ๆ การแสดงพื้นบ้าน การหมุนวงล้อสลากกาชาด นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมและคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดัง ร้านนิทรรศการของทั้งภาครัฐ ภาคเอกเอกชน และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็นต้น ทั้งนี้ นายจำลักษ์ กันเพ็ชร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานในพิธีเปิดงานดังกล่าว และได้รับเกียรติท่านและคณะเข้าเยี่ยมชมนิทรรศการและพบปะกับผู้ประกอบการไม้ดอกไม้ประดับในโครงการ ซึ่งภายในบูธของ วว. ได้จัดแสดงผลงานที่ได้จากโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อกลุ่มไม้ดอกไม้ประดับและเครือข่ายนานาชาติ ตามแนวทางมาลัยวิทยสถาน อาทิ วัสดุปลูก ปลอดโรค วัสดุปลูกจากวัสดุเหลือใช้ ต้นกล้าปลอดโรคจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ กระถางและผลิตภัณฑ์สำหรับปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับ ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากไม้ดอกไม้ประดับ กล่องสำหรับไม้ตัดดอกเพื่อการขนส่ง รวมทั้งคู่มือมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตร (GAP) และ หนังสือมาลัยวิทยสถานที่รวบรวมเกี่ยวกับพรรณไม้ดอกไม้ประดับ ไว้มากกว่า 200 ชนิด นอกจากนี้ยังมีการจำหน่ายต้นไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ และผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้แก่ ดอกเบญจมาศ จากกลุ่ม ผู้ปลูกเลี้ยงเบญจมาศบ้านใหม่พัฒนา ไม้ตัดดอก ไม้กระถาง เช่น กุหลาบอังกฤษ เทียนนิวกินี จากสวนคุณดวงแก้ว ผลิตภัณฑ์เซรามิกที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดลำปาง ปทุมมา กระเจียวและไม้ดอกไม้ประดับอื่น ๆ อีกมากมาย จากตัวแทนผู้ประกอบการในโครงการในพื้นที่ลำปางและพื้นที่ใกล้เคียง มาจำหน่ายภายในงาน เป็นการประชาสัมพันธ์สนับสนุน ส่งเสริมการตลาด การขายสินค้าในกลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ ได้พบปะลูกค้าใหม่ ๆ นำไปสู่การสร้างยอดขายและสร้างช่องทางการค้าให้กับผู้เกี่ยวข้องในธุรกิจไม้ดอกไม้ประดับ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจสังคมและชุมชนได้อย่างแท้จริง
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) จะจัดอบรมเชิงปฏิบัติการระดับนานาชาติเรื่อง การพัฒนากลุ่มเครือข่ายไม้ดอกไม้ประดับสู่ตลาดเศรษฐกิจเอเปคที่ยั่งยืน” (Development of Ornamental Plant and Flower Clusters for Sustainable Careers and Competitiveness of SMEs in APEC) ในวันที่ 19-20 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 13.00-16.30 น. (GMT+7) ในรูปแบบไฮบริด (ออนไซต์ ณ ห้องทิวลิป โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ และออนไลน์โดย Zoom)
อบรม : การพัฒนาชุดข้อมูลพื้นฐานไม้ดอกไม้ประดับอัตลักษณ์ประจำถิ่นเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ ณ ตำบลบ้านเป้า อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง 08/06/2565
ลงพื้นที่ติดตามผลการหาสารเคมีตกค้าง แปลง ดาวเรือง
การพัฒนาชุดข้อมูลพื้นฐานไม้ดอกไม้ประดับอัตลักษณ์ประจำถิ่น เพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ ด้วยแนวทางมาลัยวิทยสถาน ดำเนินโครงการโดย ดร.อนันต์ พิริยะภัทรกิจ ได้รวบรวมพันธุ์ไม้ที่มีศักยภาพด้านการปลูกเลี้ยง และเครือข่ายผู้บริโภคในตลาดไม้ดอกไม้ประดับมีความต้องการจากโครงการมาลัยวิทยสถาน นำมาส่งมอบให้กับผู้ประกอบการปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับในพื้นที่จังหวัดเลย วันที่ 20 เมษายน 2565 สำหรับการขยายพันธุ์ เพิ่มจำนวนต้นพันธุ์ ที่มีคุณภาพ เพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกเลี้ยง รวมถึงติดตั้งป้ายโครงการมาลัยวิทยสถานให้กับแปลงเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการด้วย
อบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาชุดข้อมูลพื้นฐานไม้ดอกไม้ประดับอัตลักษณ์ประจำถิ่นเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ ด้วยแนวทางมาลัยวิทยสถาน วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 2565 ณ ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง
ส่งมอบต้นพันธุ์ปลอดโรคกว่า 10000 ต้น มาลัยวิทยสถาน อว. จาก ศูนย์นวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ สถานบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
แปลงไม้ดอกไม้ประดับ จังหวัดเลย รับการตรวจ GAP ครั้งที่ 1 (วันที่ 2-4 เมษายน 2565)
วันที่ 14 มีนาคม 2565 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย เพื่อเยี่ยมชมการพัฒนาชุดข้อมูลพื้นฐานไม้ดอกไม้ประดับอัตลักษณ์ประจำถิ่น เพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ ด้วยแนวทางมาลัยวิทยสถาน ดำเนินโครงการโดย ดร.อนันต์ พิริยะภัทรกิจ และคณะนักวิจัย จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
อบรมผู้ประกอบการ จังหวัดเลย ผ่านระบออนไลน์ วันที่ 18 มกราคม 2565
วช. หนุน วว. สร้างเศรษฐกิจฐานรากให้กับชุมชนกลุ่มไม้ดอก ไม้ประดับ ด้วยนวัตกรรมเกษตร ตามแนวทางมาลัยวิทยสถาน อว. . พลเอกกัมปนาท รุดดิษฐ์ องคมนตรีและประธานกรรมการบริหารมูลนิธิโครงการหลวง เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “วิถีเกษตร BCG ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง” พร้อมเยี่ยมชมกระบวนการผลิตชีวภัณฑ์เชิงอุตสาหกรรมตามหลักการเกษตรปลอดภัย และร่วมประชุมหารือความร่วมมือการสนับสนุนทางวิชาการระหว่างมูลนิธิโครงการหลวง และ วว. ช่วงปี พ.ศ. 2566 – 2570 เพื่อแสดงผลสำเร็จการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาตอบโจทย์ภาคการเกษตรของประเทศ ผ่านโครงการยกระดับเศรษฐกิจในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคกลางตะวันตกด้วย BCG โมเดล ตามนโยบายรัฐบาลภายใต้โครงการ พ.ร.ก.เงินกู้ และโครงการเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้กับชุมชนกลุ่มไม้ดอกไม้ประดับด้วยนวัตกรรมเกษตรโดยใช้แนวทางมาลัยวิทยสถาน อว. ที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และ ศ.(วิจัย) ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ให้การต้อนรับ . ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้กับชุมชนกลุ่มไม้ดอก ไม้ประดับ ด้วยนวัตกรรมเกษตร ตามแนวทางมาลัยวิทยสถาน อว. ว่า สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มอบหมายให้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) . เป็นหน่วยงานหลักดำเนินโครงการฯ เพื่อสนับสนุนและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ ด้วยการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ โดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อยกระดับภาคเกษตรเป็นธุรกิจ สร้างงาน สร้างรายได้ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการต่อเนื่อง มุ่งส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไทยในการช่วยเพิ่มรายได้ของชุมชนในพื้นที่ให้มากขึ้นกว่าเดิมและเป็นแหล่งวิทยาการแห่งการเรียนรู้ สร้างแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติและวัฒนธรรม ในปี 2564 ดำเนินกิจกรรมในพื้นที่นำร่อง 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลำปาง และจังหวัดเลย เพื่อเป็นต้นแบบและขยายผลไปยังพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศ โดยขับเคลื่อนการดำเนินงานผ่าน 4 กิจกรรมย่อย คือ 1.การพัฒนาชุดข้อมูลพื้นฐานไม้ดอกไม้ประดับอัตลักษณ์ประจำถิ่นเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ 2.การพัฒนาปัจจัยการผลิตในการทำเกษตรปลอดภัยสำหรับไม้ดอกไม้ประดับ 3.การยกระดับระบบการปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับที่ดีด้วยเกษตรแม่นยำ และ 4.การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและบรรจุภัณฑ์ไม้ตัดดอกและไม้ประดับกระถางส่งตรงผู้บริโภค . โครงการเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้กับชุมชนกลุ่มไม้ดอก ไม้ประดับ ด้วยนวัตกรรมเกษตร ได้นำแนวทางมาลัยวิทยสถาน อว. มาดำเนินงานสำเร็จเป็นรูปธรรม โดยประสบผลสำเร็จในการพัฒนาระบบการปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับในประเทศไทย ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ สามารถรวมกลุ่มผู้ประกอบการได้จำนวน 6 กลุ่มเป็นคลัสเตอร์ ประกอบด้วย คลัสเตอร์ไม้ดอกไม้ประดับจังหวัดเชียงใหม่ นครราชสีมา เลย สุพรรณบุรี นครนายก รวมทั้งจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพิ่มรายได้ให้เกษตรกรคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 90 ล้านบาทต่อปี ซึ่งมีการนำไปใช้จริงในทุกภาคส่วน ทั้งนี้ได้มีการนำสารชีวภัณฑ์สำหรับป้องกันกำจัดศัตรูพืชไปให้เกษตรกรใช้ในการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ เพื่อตอบสนองแนวทางเกษตรปลอดภัย อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อีกด้วย
วว. โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ (ศนก.) จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการการเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้กับชุมชนกลุ่มไม้ดอกไม้ประดับด้วยนวัตกรรมเกษตรด้วยแนวทางมาลัยวิทยสถาน อว. โดยมี รศ.ดร.กิตติศักดิ์ สมุทธารักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง กล่าวต้อนรับ ศ.(วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผวว. เป็นผู้กล่าวรายงาน และดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในฐานะผู้สนับสนุนโครงการร่วมเป็นเกียรติกล่าวเปิดงาน ทั้งนี้งานประชุมดังกล่าวจัดขึ้นในวันที่ 14 ธันวาคม 2564 ณ ห้องประชุมโอฬารรัตน์ ตึกโอฬารโรจน์หิรัญ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จังหวัดลำปาง เพื่อให้ผู้ประกอบการในโครงการได้ทำความรู้จักและได้รับองค์ความรู้เพื่อใช้ในการพัฒนาระบบปลูกเลี้ยงต่อไป สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้มีหัวข้อการบรรยาย ดังต่อไปนี้ 1.แนวทางการพัฒนาผู้ปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับด้วยแนวทางมาลัยวิทยสถาน โดย ดร.อนันต์ พิริยะภัทรกิจ 2.ความท้าทายของเกษตรกรไม้ดอกไม้ประดับไทยสู่ธุรกิจอย่างยั่งยืนโดย รศ.ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์ 3.การพัฒนาวัสดุปลูกและปุ๋ยสำหรับการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ โดย ดร.กนกอร อัมพรายน์ 4.การขยายพันธุ์และผลิตต้นกล้าปลอดโรคโดย ดร.ณัฐพงค์ จันจุฬา 5. การพัฒนาภาชนะปลูกรูปแบบใหม่และเม็ดดินเหนียวจากวัสดุในท้องถิ่นโดย ดร.ปิยาลัคน์ เงินชูกลิ่น 6. การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและบรรจุภัณฑ์ไม้ตัดดอกและไม้ประดับกระถางส่งตรงผู้บริโภค โดย ดร.รุจิรา ดีวัฒนวงศ์ 7. การยกระดับระบบการปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับที่ดี (GAP)โดย คุณชลธิชา นิวาสประกฤติ 8. การปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับที่ดีด้วยเกษตรแม่นยำโดย คุณปวริศ ตั้งบวรธรรมา
สำรวจข้อมูลไม้ดอกไม้ประดับ บ้านแค่ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
วันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมเป็นเกียรติในงานแถลงข่าวการจัดงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติประจำปี 2564 จัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โอกาสนี้ วว. นำโดย นายอนันต์ พิริยะภัทรกิจ นักวิจัย นำผลงานโครงการเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้กับชุมชนกลุ่มไม้ดอกไม้ประดับด้วยนวัตกรรมเกษตร ด้วยแนวทาง มาลัยวิทยสถาน อว. และผลงานที่ได้รับทุนวิจัยจากวช.เข้าร่วมแสดงด้วย